จากการที่ได้ไปสอนน้องๆ ป.ตรี เมื่อวาน และได้ทดลองอะไรหลายๆ อย่างระหว่างการสอน มีจุดหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ น้องๆ จะให้ความสนใจเป็นพิเศษในช่วงของการแนะแนว แนะแนวว่า ออกไปข้างนอก จะเจออะไร จะต้องเตรียมตัวยังไง
มันทำให้ผมฉุกคิดกลับไปถึงสมัยที่ยังเรียนอยู่เหมือนกันว่า ความเป็นจริงเราก็อยากรู้เหมือนกันนะว่า จบไปแล้ว “จริงๆ” เราอยากจะเป็นอะไรกันแน่ แล้วที่เราเป็นอยู่ เราขาดอะไรบ้างถึงจะได้เป็น
ซึ่งจากสภาพปัจจุบันคือ เด็กๆ ยังหาตัวตนไม่เจอกัน ไม่ใช่แค่เด็กที่ผมไปสอน แต่เป็นเด็กส่วนใหญ่ของประเทศ คือมีน้อยมากจริงๆ ที่ไปคุยแล้วจะมองเห็นแววตาอันมุ่งมั่น ซึ่งในท้ายที่สุด ผมไม่คิดว่ามันผิดที่เด็กไม่เอาไหน ไม่สนใจโลก เพราะเมื่อวานก็เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่า เด็กก็ห่วงอนาคตตัวเองเช่นกัน
เพียงแต่ว่า ไม่สามารถมองเห็นได้เลยว่า ออกมาทำงาน มันเป็นยังไง ชีวิตการเป็นมนุษย์เงินเดิน มันเป็นยังไง ส่วนใหญ่ก็เห็นแต่การ์ตูนล้อชีวิตขำๆ ซึ่งนั่นมันเป็นแค่เสี้ยวเล็กๆ ของชีวิตคน พอมองไม่เห็นอนาคตที่ชัดเจน ก็ยากจะวางแผนเตรียมตัวให้พร้อม สุดท้ายผลผลิตที่ออกมาจากมหาวิทยาลัยจึงด้อยคุณภาพ และเกิดเป็นวิกฤติการณ์ขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างที่เราเจอกันอยู่ (วิกฤติการณ์นี้ มันไม่ได้เกิดจากไม่มีเด็กจบคอมฯ แต่เด็กที่จบใหม่มันคุณภาพไม่ถึง)
ผมคิดว่าการจะทำให้เด็กๆ ได้เห็นว่าเขาต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง คือผู้ใหญ่ที่ทำงาน ต้องลงไปเจอเด็ก ไปแนะแนวเด็ก ให้เด็กได้เห็นว่า เขาจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ควรมีการกลับไปเจอ กลับไปพูดคุยกับน้องๆ จับมาให้ลองให้ฝึกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือจริงๆ ไม่ใช่ได้ลองจับเฉพาะเครื่องมือเก่าๆ ที่หลักสูตรสอนกันอยู่ พี่ๆ ควรเข้าไปในมหาวิทยาลัย เข้าไปแบ่งปันประสบการณ์ เอาแบบผิวๆ ก็พอ ให้น้องได้รู้ว่าโลกนี้มีอะไรที่ต้องเรียนรู้บ้าง อย่างน้อยวันไหนมีไฟกลับบ้านไปเปิดคอมไปทดลองเล่นดูเองบ้าง จะได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด กระบวนการลองผิดลองถูก ซึ่งสำคัญมากในการทำงาน
ผมเชื่อว่าถ้าเราช่วยกัน แบ่งเวลาทำงานไปช่วยกันปลูกเมล็ดพันธุ์ทางความคิดให้น้องๆ กันบ้างอย่างต่อเนื่อง ร่วมมือกับอาจารย์ ขอให้มอบเวลาบางส่วนให้ได้เข้าไปแนะแนว และให้พาเด็กออกไปเจอโลกข้างนอกบ้าง ผมเชื่อว่าในเวลาไม่นาน (ไม่น่าเกิน 2 ปีซะด้วยซ้ำ) เด็กๆ เหล่านั้นจะกลายเป็นนักพัฒนาที่มีคุณภาพ และปัญหาขาดแคลนโปรแกรมเมอร์ของเราจะลดลงไปได้อย่างมาก
ตัวเด็กก็อยากมีอนาคตที่ดี
บริษัทก็ต้องการเด็กคุณภาพ
มหาวิทยาลัยก็อยากเป็นแหล่งบ่มเพาะคนที่ดี
ประเทศชาติก็ต้องการนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
แล้วเรามัวแต่รออะไรกันอยู่?
Category Archives: Experience
ใช้ GitLab Pages โฮส Static Website ฟรีๆ ไม่ต้องตั้ง Server (Step By Step)

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาขอแนะนำฟีเจอร์เด็ดของเครื่องมือที่ผมชอบมากตัวหนึ่ง นั่นก็คือ GitLab Pages นั่นเอง อธิบายสั้นๆ ก็คือ GitLab Pages เอาไว้โฮสเว็บไซต์แบบ Static คือมาแต่ฝั่ง HTML/CSS/JS นั่นเอง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องตั้ง Server ของตัวเองเลย GitLab อาสาไปโฮสให้ฟรีๆ แต่ด้วยพลังของ GitLab CI/CD ทำให้มีการสร้างโปรแกรมขึ้นมาเพื่อ Generate Static Website กันบน Online ได้เลย หนึ่งตัวที่น่าสนใจก็คือ Hugo แต่อันนั้นจะเล่าในวันหลัง ส่วนวันนี้ผมจะมาสอนการใช้แบบพื้นฐานเป็น Plain HTML กันก่อน 🙂
Continue readingเทคนิคการเรียน Programming ให้เร็วและมีประสิทธิภาพ

สวัสดีครับ วันนี้มาคุยกันถึงหัวข้อเบาๆ กันบ้าง มันเป็นเรื่องของเทคนิคที่ผมใช้เวลาต้องการเรียนภาษาหรือเฟรมเวิร์คใหม่สำหรับการเขียนโปรแกรม การอยู่ในสายคอมพิวเตอร์นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นเรายังต้องเดิมพันด้วยว่าควรจะเลือกจับเทคโนโลยีตัวไหนมาทำมาเป็นคู่ชีวิต เพราะถ้าเลือกผิดตัวศึกษาไปแล้วดันไม่เกิด ก็เหมือนเสียเวลาเรียนฟรี เอามาใช้ทำมาหากินไม่ได้ หรือไม่ก็สร้างทีมไม่ได้ อย่างไรก็ดี ยังไงเราก็ต้องศึกษาสิ่งที่ออกมาใหม่บ้างอยู่ดี คำถามคือแล้วทำอย่างไรเราถึงจะเป็นผู้รู้เทคโนโลยีหลายๆ ตัวให้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ วันนี้ผมจะขอเล่าถึงเทคนิคที่ผมใช้มาเป็นเวลานมนานเพื่อให้สามารถศึกษาทั้งแต่ ภาษา เฟรมเวิร์ค ไปจนถึงเครื่องมือต่างๆ ได้ในเวลาอันสั้น
Continue readingสรุปสิ่งที่ได้ทำในปี 2018

มาถึงสิ้นปี 2018 แล้ว ก็ขอสรุปสิ่งที่ได้ทำเอาไว้ทบทวนตัวเอง ปีนี้เป็นปีที่เกิดเรื่องราวต่างๆ มากมายเหลือเกิน มากซะจนมั่นใจว่าจะต้องลืมเหตุการณ์อะไรไปหลายเหตุการณ์แน่นอนในปีนี้ อย่างไรก็ดีก็จดเอาที่ยังพอจำได้ไว้ดูพัฒนาการของชีวิต
Continue readingEP 3: Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform @ Credit OK
สวัสดีทุกท่าน มาถึงตอนสุดท้ายแล้วนะครับ ซึ่งในตอนนี้ผมจะเล่าถึงวิธีการจัดการกับ Big Data แบบที่ Credit OK ทำอยู่นั้นเป็นประมาณไหน แล้วเราใช้ Serveeless Service จาก GCP อย่างไร เราเจออุปสรรคอะไรบ้าง และแก้ปัญหามาได้อย่างไร
บทความนี้เขียนขึ้นเพราะได้ขึ้นไปพูดที่งาน Barcamp นะครับ ใครสนใจดู Slide เปิดได้จากที่นี่เลย Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform at Credit OK
Continue readingEP 2: Serverless Big Data Architecture on Google Cloud Platform @ Credit OK
สวัสดีครับ สัปดาห์นี้จะมาเล่าต่อกันเรื่องการใช้ Google Cloud Platform ที่บริษัท Credit OK สำหรับสัปดาห์ที่แล้วได้เล่าถึงประวัติศาสตร์การ Deploy Application ต่างๆ ตั้งแต่ Bare Metal ไปจนถึง Cloud Functions ท่านใดสนใจจะกลับไปอ่านบทความก่อนหน้าก็ตามลิงค์ไปได้เลย Server & Application Deployment History ส่วนสัปดาห์นี้ ผมจะขอแนะนำบริการต่าง ที่น่าสนใจบน Google Cloud Platform ทั้งทางฝั่ง Compute, Storage, Database และ Data Analytics
Continue readingMoney Counter โปรเจกต์ที่ทำด้วย Passion ล้วนๆ

เมื่อวานไปงาน Next Stack: Entrepreneur Edition
ตอนจบมีคำถามที่ โดนใจผมเอามากๆ (ไม่รู้เข้าใจผิดหรือเปล่านะ) ประมาณว่า จะมีไหม คนที่มุ่งมั่นทำธุรกิจตาม Passion แบบไม่ได้สนใจเรื่องเงิน
ตอบคำถาม วิศวะคอมฯ วิทยาการคอมฯ ไอที ต่างกันอย่างไร ควรเลือกเรียนอะไรดี?
สวัสดีครับทุกท่าน หนึ่งในคำถามที่ผมถูกถามบ่อยที่สุดเวลาไปคุยกับเด็กมัธยมฯ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ก็คือ สาขา Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์), Computer Engineering (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) และ Information Technology (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มันเรียนแตกต่างกันอย่างไร ในฐานะที่เป็นคนทำงานทางสายงานคอมพิวเตอร์และมีความซาบซึ่งในด้านการศึกษาทางศาสตร์นี้ด้วย วันนี้จึงจะมาขอเล่าให้ฟังอย่างเป็นเรื่องเป็นราวแบบที่จบในม้วนเดียว และปิดท้ายด้วยคำแนะนำสำหรับน้องๆ ที่กำลังจะเรียนทางสายนี้ว่า ควรจะเลือกเรียนอะไรดี โอเค เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
Continue readingDon’t Break the Chain เครื่องมือช่วยพัฒนาการสร้างวินัย
วันนี้จะขอเสนอเครื่องมือสำหรับการสร้างวินัย หรือพฤติกรรมที่ต้องการจะทำทุกวัน
หลายๆ คนน่าจะเคยมีความคิดอยากจะออกกำลังกายทุกวัน อยากจะนั่งสมาธิทุกวัน อยากจะอ่านหนังสือทุกวัน แต่ทำไปได้ไม่นานก็ต้องยอมแพ้ไปซะเฉยๆ
การสร้างพฤติกรรมต้องยอมรับเลยว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการหลงลืม หรือขี้เกียจ หรือสภาพของวันนั้นๆ ไม่เอื้ออำนวย แต่มีเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ผมค้นพบว่าใช้งานได้ผลดีมาก นั่นคือการบันทึกการสร้างพฤติกรรมที่ต้องการพัฒนาลงในกระดาษอย่างต่อเนื่อง
สรุปสิ่งที่ได้ทำในปี 2017
ใกล้จะผ่านไปอีกปีแล้ว ถึงเวลามารวบรวมความคิดว่าปีนี้ได้ทำอะไรสำเร็จไปบ้าง สำหรับปีก่อนยังนึกออกว่าต้นปีได้ทำอะไรไป แต่ปีนี้นี่จำอะไรแทบไม่ได้เลย ไม่รู้ว่าเรื่องมันเยอะขึ้นหรือว่าแก่ขึ้นแล้วความจำแย่ลง 5555 โดยหลักแล้วปีนี้สิ่งที่เปลี่ยนไปน่าจะเป็นเรื่องการเดินออกมาสู่โลกธุรกิจอย่างเอาจริงเอาจัง (ปีก่อนเป็นนักวิชาการ หันเข็ม 90 องศาเลย) เคยคิดว่าตัวเองเข้าใจโลกธุรกิจมาตลอด แต่มาปีนี้ได้พบว่าเปล่าเลย และนี่เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น สำคัญสุดของปีนี้คือได้เริ่มกลับมาเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้นแล้ว มีความขวานผ่าซากมีน้อยลง แต่ไม่ว่ายังไงก็ยังคงยึดมั่นในระเบียบวินัยเช่นเดิม 🙂