ผลึกความรู้ที่ได้จากหนังสือ ซุนวูสอน “เอาชนะ ใจคน”

คุณสมบัติข้อแรกของผู้นำที่ดี คือ “การมีคุณธรรม

พอดีแฟนเรียน MBA อยู่ เห็นบอกว่าเล่มนี้ is a must for MBA students ก็เลยซื้อมือสองมาเก็บไว้ในตู้หนังสือ
วันนั้นหาอะไรอ่านอยู่ก็เลยชิงมาอ่านก่อน แล้วก็อ่านจบไปอีกเล่ม สุดยอดมากๆ ครับ ยกนิ้วให้เลย อยากลุกขึ้นยืนปรบมือให้หลายจังหวะมาก
เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดแนวคิด วิธีคิด จากผู้เจ้าสัว จากยอดบริหาร ทั้งไทย (และจีน) นับเป็นการศาสตร์การบริหารแบบตะวันออก อย่างแท้จริง
(อีกเล่มที่ทุกวันนี้ผมก็ยังอ่านอยู่ไม่จบคือ The Daily Drucker อ่านไปด้วยพร้อมกัน เพราะหนักหัวมากเล่มนี้ ถือเป็นศาสตร์การบริหารแบบตะวันตก)

ไม่มีอะไรจะเสริมมากนัก นอกจากอยากให้ผู้บริหาร และพนักงานที่คาดหวังความก้าวหน้าในอนาคต ได้ลองพิจารณาข้อคิดต่างๆ ที่บันทึกเอาไว้ในเล่มนี้
ฝั่งผู้บริหาร จะได้ทราบถึงวิธีการดูแลคน ดูแลงาน ให้บรรลุ ประสบความสำเร็จได้
ฝั่งพนักงาน จะได้เตรียมตัวเตรียมใจ สำหรับวันหนึ่งที่ตนเองจะได้มีโอกาสขึ้นเป็นผู้นำ

การขึ้นเป็นผู้นำ ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคน แต่ทักษะความเป็นผู้นำ มันมีอะไรมากกว่าแค่การนำคน มันเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย มันเป็นทักษะที่มนุษย์ทุกคนพึงมีติดตัว

ขอแบ่งปันเนื้อหาที่ผมได้เน้นย้ำเอาไว้ให้ตัวเองได้มาทบทวนภายหลังเอาไว้ ดังนี้..

(p.14)
ห้าสถานการณ์เงื่อนไขสำคัญ ที่แม่ทัพพึงจะต้องรู้และพิจารณา

  1. ความชอบธรรม หมายถึง เหตุและผลแห่งราชสำนักและราษฎรมีจิตพ้องกันแห่งการทำศึกมิรู้จักเป็นมิรู้จักตาย มีเป้าหมายสำคัญที่เห็นพ้องต้องกัน
  2. ลมฟ้าอากาศ หมายถึง ลมฟ้าอากาศ หนาวหรือเย็น แจ้มชัดหรือปิดบัง ภาวะความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากอิทธิพลของธรรมชาติ
  3. ภูมิประเทศหรือสมรภูมิ เป็นภูเขาหรือที่ราบ ทุรกันดารหรือสมบูรณ์ ดีหรือเลว ใกล้หรือไกล ความยากง่ายของการเดินทัพ
  4. การบังคับบัญชาหรือคุณสมบัติของแม่ทัพ ความเฉลียวฉลาด หยั่งรู้ปัญญา กรุณาแลเมตตา ศรัทธาและกล้าหาร
  5. วิธีการและระเบียบกองทัพ กระตระเตรียมวงตำแหน่งกำลัง กฎเกณฑ์ การมอบหมายงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้ที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา

(p.16)
การประเมินประสิทธิภาพของกองทัพ 7 ประการ

  1. ราชสำนักดำรงในความชอบธรรมเยี่ยงไร
  2. แม่ทัพแกร่งกล้าเยี่ยงไร
  3. สภาวะฟ้าดินอำนวนเยี่ยงไร
  4. กฎระเบียบวินัยกองทัพเป็นเยี่ยงไร
  5. กองทัพพร้อมเยี่ยงไร
  6. ทหารกล้าตระเตรียมเยี่ยงไร
  7. ตอบแทนและลงโทษเยี่งไร

(p.16)
รู้เขา แต่ไม่รู้เรา ชนะเพียงเสี้ยว
ไม่รู้เขา แต่รู้เรา ชนะเพียงครึ่ง
ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา รบร้อยครั้งแพ้ร้อยครั้ง
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

(p.29)
ในการเอาชนะใจคนและการบริหารคนนั้น หมายถึง การรู้จัก “คน” ในทุกแง่มุม

(p.31)
หลักการสรรเลือกคนสองเครือ ซีพี

  1. ต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง
  2. ต้องเป็นผู้ที่ขยัน
  3. ต้องเป็นผู้ที่อดทน
  4. ต้องเป็นผู้มีความพยายามสูง
  5. ต้องเป็นผู้ร่วมงานที่ไม่เห็นแก่ตัว

(p.38)
เลือกคนให้ถูก ใช้คนให้เป็น เหมาะสมกับสมรภูมิ

(p.45)
คุณสมบัติของแม่ทัพที่ดี

  1. เฉลียวฉลาด
  2. หยั่งรู้ซึ่งปัญญา
  3. กรุณาแลเมตตา
  4. ศรัทธาแลกล้าหาญ

(p.47)
คุณสมบัติของผู้นำที่เก่ง

  1. ต้องมีพลังบวก
  2. ต้องสามารถผลักดันให้คนในองค์กรมีพลังบวกได้
  3. ต้องอยากมี อยากเป็น และอยากเห็นองค์กรเติบโตก้าวหน้า
  4. ต้องกล้าตัดสินใจ
  5. ต้องมุ่งมั่นสู่เป้าหมายที่วางไว้

(p.49)
ผู้จัดการหรือผู้นำมืออาชีพ ต้องสร้างระบบขึ้นมา เพื่อไม่ให้ธุรกิจไปยืดอยู่กับที่ตัวบุคคล เป็นศิลปะแห่งการบริหาร

(p.55)
เมื่อหัวส่าย หางจะต้องกระดิก หากหัวไม่ส่าย มีหรือที่ส่วนหางจะกระดิก

  1. Mobilize ผู้นำสูงสุดต้องเป็นผู้นำในการจุดชนวนความคิด เคลื่อนพล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  2. Translate การถ่ายทอดแปลความหมายผ่านเคลื่อนมือสำคัญที่เรียกว่า แผนที่กลยุทธ์ ให้องค์กรเห็นภาพเชื่อมโยงกัน
  3. Alignment ทำให้ทุกหน่วยงานมีการผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความเป็นทีม มีความรักองค์กร
  4. Motivate มีแรงกระตุ้น ดลใจเพื่อให้ทุกคนทำตามเป้าหมายที่วางไว้
  5. Govern ดูแลให้ทุกอย่างที่ทำมาแล้วดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

(p.59)
หลักการทำธุรกิจการและและการบริหารคน
ต้องทำอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมาและรับผิดชอบ ดำรงด้วยความยุติธรรม มีเมตตา กรุณา ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกน้อง ตั้งอยู่ในสัจจะให้ความรักและสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ

(p.65)
ผู้นำในการทำสงความหรือธุรกิจนั้นมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ต้องมีสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด ซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ความรับผิดชอบสูง รู้จักแก้ไขและใช้สถาการณ์ต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา กล้าตัดสินใจ

(p.70)
ทฤษฎี X และ Y สำหรับใช้มองผู้บริหาร (ความสำเร็จของงาน และ การบริหารคน)

  1. poor manager ไม่สนใจทั้งคน ไม่สนใจทั้งงาน งานก็ไม่สนคนก็ไม่สร้าง
  2. dictative manager เน้นงานมาก เอาจริงเอาจังกับงาน งานต้องเสร็จ ไม่สนเรื่องคน
  3. playboy manager เน้นคนไม่เน้นงาน ใจดี ใก้ความสนใจกับลูกน้องมาก ให้ความสนใจกับคน แต่ไม่ให้ความสนใจกับงาน
  4. professional manager เน้นทั้งคนเน้นทั้งงาน ให้ความสนใจทั้งคนทั้งงาน

ทฤษฎี X และ Y สำหรับใช้มองผู้ปฏิบัติงาน (ความรับผิดชอบ และ ความมีวุฒิภาวะ)

  1. ไม่มีความรู้ไม่มีความรับผิดชอบ โง่และขี้เกียจ
  2. มีความรับผิดชอบมากแต่ไม่มีความรู้ โง่แต่ขยัน
  3. มีความรู้แต่ไม่มีความรับผิดชอบ ฉลาดแต่ขี้เกียจ
  4. มีทั้งความรู้และความรับผิดชอบ ฉลาดและขยัน

การบริหารอาจเพิ่มปัจจัย Z เข้าไปด้วย เพื่อสอบสนองความต้องการอิสระและความต้องการของมนุษย์

  1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
  2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
  4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

(p.85)
ต้องมีความภูมิใจในงานที่ทำและได้รับมอบหมาย

(p.90)
แนวคิดเรื่อง “put the right man on the wrong job” คุณบุญเกียรติบอกว่า ที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะคนเก่งส่วนใหญ่มักมีความหลงตัวเอง หลงในการที่ตัวเองทำ หรือ อีโก้ ยิ่งได้งานที่ชอบ งานที่ถนัด โอกาสสำเร็จก็ยิ่งมาก และยิ่งสร้างความมั่นใจ ยิ่งลำพอง ไม่ฟังใคร แต่เมื่อคนเก่งมาทำงานที่ไม่ถนัด เขาจะได้การถ่อมตัว โดยไปขอความรู้จากผู้อื่นก่อน จะทำให้เขาเป็นคนถ่อมตัว เกิดการพัฒนาจิตใจ เมื่อกลับมาทำงานที่ตัวเองรักและถนัด ก็จะเกิดความเข้าใจที่ดี

(p.100)
ยุคนี้หมดสมัยแล้วกับผู้บริหารที่มาดขรึม ดุดัน ดูน่าเกรงขาม เทรนด์ผู้บริหารสมัยนี้ ต้องเป็นกันเอง ไม่แปลกแยกแตกต่าง สามารถร่วมสังสรรค์เฮฮากันได้ รู้จักผ่อนคลายเมื่อหมดสิ้นเวลางาน มีความเสมอภาคต่อกัน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเคารพและนอบน้อมของพนักงานเป็นการส่วนตัวด้วย พยายามลเขั้นตอนแบบทางการออกไป ใช้การพบปะพูดคุยแบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เมื่อผู้บริหารทุ่มเทใจแก่พนักงานเกินร้อย ความมั่นคงก็จะสูงขึ้นและการลดความกดดันในองค์กรด้วย

(p.105)
Challenge คนส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการพัฒนาก็ต้องการการเติบโต ต้องการทำงานที่ท้าทายขึ้น องคร์กรที่อยากจะมีคนเก่งมากๆ ก็ต้องรักษาพวกเขาให้ได้ด้วย การให้งานที่ท้าทายก็เป็นส่วนหนึ่งที่คนกลุ่มนี้ชอบเป็นอย่างยิ่ง

(p.114)
ในทุกธุรกิจการค้นหรือในทุก “คน” นั้น ล้วนมีจุดอ่อน อยู่ที่ว่าจะหาให้เจอหรือไม่เท่านั้นเอง

(p.117)
ก่อนจะเสี่ยงทำอะไร ต้องมีข้อมูล ต้องศึกษาจนรู้จริง ค้นหาข้อมูลประกอบก่อนตัดสินใจ จะต้องก็เข้าใจถึงความเสี่ยงเป็นอย่างดีในสิ่งที่ลงมือทำเป็นอย่างดี

(p.124)
สำหรับการบริหารคนนั้น หมายถึง การรู้จักความสามารถของคนในองค์กรอย่างทะลุปรุโปร่ง รวมถึงนิสัยใจคอ ยิ่งรู้ถึงภูมิหลังและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนในที่ดูแลมากเท่าใด ก็จะทำให้มีหนทางมากขึ้นที่จะปกครองคนในองค์กรนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คนในองค์กรนั้นมาจากหลายที่ อาจจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน แต่ต้องยึดเอาความยุติธรรมเป็นหลักด้วย

(p.125)
การสร้างคน ใช่ว่าสักแต่สร้างตามที่เราเห็นเหมาะ เราควรสร้างตามความสมัครใจของผู้ตามด้วย ทีนี้หากเราอยากได้คนเก่งในสายงานหนึ่ง และผู้ตามของเราไม่ต้องการจะเรียนรู้ในสายงานนั้น สิ่งที่เราควรทำคือการมองหาคนใหม่ที่มีความถนัดหรือมีแววในเรื่องนั้นๆ เข้ามาสร้างเพิ่มอีกคนเสียเลย ซึ่งการมีผู้ตามเก่งๆ หลายคน แต่ละคนก็เกางเฉพาะด้านนั้น จะทำให้ผู้นำขยับขยายความสำเร็จได้หลายแนวทางยิ่งขึ้น

(p.130)
ในบางเรื่องที่เร่งด่วนและมีเวลาศึกษาน้อยจนเกรงว่าจะบุ่มบ่ามพลาดพลั้งได้ ควรขอความรู้ความสามารถจากที่ปรึกษาเฉพาะกิจที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ จะเป็นการลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ

(p.130)
ผู้นำงาน ต้องคิดงานเป็น บอกงานได้ เข็นงานเก่ง และเร่งแก้ไขปรับปรุง
ผู้นำชีวิต ดูแลชีวิต คิดหาหลักประกันครอบครัวและชี้แนะวิชาชีวิตให้กับลูกน้องไปในทางที่ดีได้

(p.144)
คุณก่อศักดิ์นั้นเป็นสุดยอดนักบริหารจึงรู้ดีว่า คนหนึ่งคนไม่สามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ แต่คนหนึ่งคนสามารถทำให้องค์กรล้มเหลวได้ และคนคุณภาพนั้นสำคัญยิ่ง

(p.148)
สิ่งที่ผู้บริหารควรทำคือ การออกเดินสำรวจองค์กรของตนเอง เพื่อเดินเข้าไปดูถึงต้นตอของปัญหาและรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง มิใช้นั่งรอรายงานหรือรอให้ปัญหาวิ่งเข้ามาชน จนอาจจะเกินรับมือไหว

(p.152)
คนของซีพี ออลล์ วันนี้ 90,000 กว่าคน ไม่มีทางที่ทุกคนจะเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารเน้นย้ำมาตลอดคือ ต้องมีความกลมกลืน ผสมส่วนเหมือน ผสานส่วนต่าง สร้างความกลมเกลียวในการทำงาน ประดุจวงดนตรีวงเดียวกัน บางคนอาจจะเล่นกีต้าร์ได้ดี บางคนตีกลองเก่ง ก็เอาความเก่งในมุมของแต่ละคนมาผสานเพื่อให้องค์กรก้าวไปในทิศทางเดียวกัน

(p.156)
คุณนิวัตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บัตรกรุงไทยสรุปไว้ว่า ผู้นำในทศวรรษหน้าจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดูแลบุคลากร เห็นคุณค่าของผู้ร่วมงาน สร้างระบบปฏิบัติการและระบบการสื่อสารที่ดีในองค์กร เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงานเป็นทีม และทำงานได้อย่างมีความสุข ตลอดจนต้องหมั่นหาแนวทางพัฒนาคุณภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานและองค์กรเติบโตไปด้วยกัน

(p.165)
ผมพร้อมจะเป็นน้ำนิ่งหากมีเขื่อนมาขวางหน้า แต่ถ้าวันใดที่เขื่อนนั้นเปราะบางและโอกาสแห่งการสำแดงพลังมาถึง ผมก็พร้อมจะกลายเป็นกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก โหมกระหน่ำใส่ทุกสิ่งที่ขวางกั้น แม้กระทั่งเขื่อนที่ครั้งหนึ่งผมเคยสยบยอมก็ตาม – เจ้าสัวเจริญ

(p.175)
ผู้นำสมัยใหม่ต้องเป็นลักษณะของผู้นำแห่งการช่วยเหลือ แบ่งปัน หรือเป็นผู้รับใช้ ซึ่งผู้นำแหล่านี้จะคอยทำหน้าที่เสนอตัวเองเพื่อช่วยเหลือพนักงานและลูกน้อง โดยเปรียบตัวเองเสมือนหนักงานคนหนึ่ง เป็นเพื่อนที่คอยช่วยเหลือเพื่อนด้วยกัน ผู้นำแหล่านี้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่หายาก เพราะน้อยคนนักที่จะเป็นได้ทั้งเพื่อนและผู้นำแก่พนักงานหรือลูกน้องในเวลาเดียวกัน

(p.178)
พื้นฐานของการบริหารงานและใช้ชีวิตที่ตั้งมั่นอยู่บนคุณงามความดี มีศีลธรรม และปรับมุมมองจากการตัดตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม โดยไม่วางตัวเองเป็น ศูนย์กลาง และไม่เห็น ผลกำไร เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดจนละเลยมิติด้านอื่น จึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนความสมดุลของสังคม ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทั้งกายภาพและจิตภาพ

(p.185)
David Rook William Torbert แบ่งผู้นำและคนทำงานไว้ 7 ประเภท

  1. นักฉวยโอกาส (Opportunist) ยึดถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จิตใจคับแคบ ลองโลกในแง่ร้าย หลงตัวเอง บ้าอำนาจ ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง
  2. นักการทูต (Diplomat) เป็นที่รักของเจ้านายและลูกน้อง ชอบสร้างภาพให้ตัวเองเป็นที่รักอยู่ตลอดเวลา พูดจาไพเราะ ใบหน้ายิ้มแย้ม ไม่วิจารณ์ใครๆ เหมือนเป็นสิ่งดี แต่ทำให้ขาดการพัฒนา เหมาะกับงานบริการ เพราะไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง
  3. นักชำนาญการ (Exper) ใช้ความรู้ที่ลุ่มลึกของตนเองทำให้ผู้อื่นศิโรราบ ชอบใฝ่หาความรู้ใส่ตัวเพื่อแสดงให้เห็นว่าอยู่เหนือกว่าคนอื่น เสี่ยงต่อการเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง มีดีที่มีความรู้ที่แท้จริง ทำงานคนเดียวหรือกับคนกลุ่มเล็กได้ดี
  4. นักจัดการ (Achiever) ทำงานทุกอย่างให้ลุล่วงไปได้ด้วยดีตามระยะเวลาที่กำหนด รับฟังความคิดเห็น ร่วมงานกับผู้อื่นได้ดี รู้จักประนีประนอม แต่อาจขาดวิสัยทัศน์ ไม่กล้าคิดนอกกรอบ ทำเฉพาะส่วนที่ได้รับมอบหมาย
  5. เก่งเดี่ยว (Individualist) คล้ายผู้ชำนาญการ แต่รู้จักมองโลกสองด้าน กล้าคิด กล้านำเสนอสิ่งที่แตกต่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แต่ข้อเสียคือขาดความยืดหยุ่นหรือประนีประนอม พร้อมชนกับทุกคนเหมือนคนบ้าเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองถูกต้อง
  6. นักยุทธศาสตร์ (Strategist) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก มองเห็นภาพรวมขององค์กร รู้ว่าสิ่งไหนทำได้ทำไม่ได้ ยังขาดทรัพยากรอะไรบ้าง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ยึดเอาผลประโยชน์องค์กรเป็นหลัก ไม่เห็นแก่ปลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว ข้อเสียคือความสามารถในการปฏิบัติอาจไม่ดีเท่ากลุ่มนักปฏิบัติ แต่เรื่องความคิดนั้นเหนือกว่ามาก
  7. นักสร้างสรรค์พัฒนา (Alchemist) เป็นกลุ่มบุคคลที่พัฒนาตัวเองและองค์กรตลอดเวลา โดยมองภาพรวมทั้งหมดและลงมือจัดการได้ทุกอย่าง สามารถริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้

(p.191)
ผู้นำทุกองค์กรจึงต้องเปิดโอกาสให้คนในองค์กรได้แสดงศักยภาพออกมามากที่สุดเท่าที่จะมากได้

(p.201)
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทอง เวลา คน เทคโนโลยี ทุกองค์กรต้องสร้างตัวเองให้แข็งแกร่ง พัฒนาคนให้เก่ง ค้นหาต้นทุนการผลิตที่ต่ำแต่ได้ประสิทธิภาพการทำงานสูง พัฒนาสินค้าของตัวเองให้สวยและดีกว่าคู่ต่อสู้ ให้ดีกว่าเมื่อวาน

(p.212)
วิธีชนะมิตรและจูงใจคน

  1. จงหลีกเลี่ยงการโต้เถียง
  2. จงแสดงความเคารพในความคิดเห็นของเขา
  3. ถ้าเราทำอะไรผิด จงแสดงความรับผิดชอบทันที และรับผิดชอบอย่างกล้าหาญ
  4. จงพูดจาด้วยภาษาที่สุภาพ
  5. อาจต้องพูดว่า ใช่ๆ ออกมาก่อน แล้วค่อยทำทางให้ได้รับการยอมรับ
  6. เมื่อพบว่าเขาอยากพูด ก็จงปล่อยให้เขาได้พูดอย่างเต็มที่
  7. จงทำให้เขารู้สึกว่า ความคิดนั้นเป็นของเขา
  8. พยายามมองเรื่องต่างๆ เหมือนอย่างที่เขามอง เขาคิด
  9. จงแสดงความเข้าใจและเห็นประโยชน์ในความคิดของเขา
  10. จงพยายามในจุดเด่นของเขา
  11. จงเน้นความคิดเห็นของเขาให้เป็นเรื่องที่น่าฟัง
  12. จงพูดยั่งยุท้าหทายให้เกิดการกระทำตาม

(p.224)
ต้องยอมลงทุนในการพัฒนาองค์กร พัฒนาคนให้มีคุณภาพในด้านต่างๆ ไม่ควรประหยัดอย่างไม่เข้าใจถึงผลที่จะได้รับซึ่งมีมหาศาลกว่ามาก เรื่องของผลตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าทำงานล่วงเวลา หรือโบนัส เบี้ยขยัน ต้องให้กับพนักงานอย่างเต็มที่ตามที่เขาทุ่มเทให้กับองค์กร

(p.233)
หนทางเดียวที่จะประสบความสำเร็จ ผลต้องทำงานให้มากกว่าคนอื่น เพราะความสำเร็จไม่ได้หล่นมาจากฟ้าแล้วเราออกไปเก็บมาได้ – ตัน ไม่ตัน

(p.257)
ในยุคสมัยนี้ คนทำงานจะต้องมีความสามารถมากกว่าหนึ่งอย่าง และในแผนกหรือแต่ละฝ่ายจะต้องสามารถทำงานทดแทนกันได้หากมีช่องว่างหรือคนขาดแคลนขึ้นมา เพื่อไม่ให้การทำงานนั้นต้องสะดุด รวมถึงการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานต้องดูในหลายความสามารถเป็นสำคัญ เพราะเท่ากับรับคนเดียวแต่ทำได้หลายงานในคราวเดียว ถือว่าเป็นคนที่มีความสามารถที่ไร้ขีดจำกัด

ซุนวูสอน "เอาชนะ ใจคน"

Tags: , ,